Powered By Blogger

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

บทเรียนชาวหมู สถานการณ์ปัจจุบัน ส่งผลให้หมูรายย่อย ต้องพบจุดจบ ด้วยทุนใหญ่ควบคุมไว้หมด สถานการณ์อันใกล้นี้ โรคอหิวาต์อาฟริกา ก็จ่อมาข้างประเทศของเรารอบด้าน จึงเป็นเรื่องยากที่รายย่อยจะฝ่าด่านไปได้ เพียงได้แต่ภาวนาว่า ให้ช่วยกันควบคุมโรคให้ได้

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การผลิตสุกรพันธุ์ปากช่อง5

เมื่อ ศูนย์วิจัยบำรุงพันธุ์สัตว์นครราชสีมา ได้วิจัยสุกรสายพันธุ์ปากช่อง5 และมีการนำไปใช้งานอย่างแพร่หลาย ผลตอบรับดี ที่ฟาร์มพุทธรักษา ได้นำมาผสมในกลุ่ม ผิวเนียน ลำตัวยาว กล้ามมาก เพื่อใช้เป็นพ่อสุดท้าย ให้กับเกษตรกร โดยการใช้รีดน้ำเขื้อเป็นหลัก และจำหน่ายพ่อพันธุ์ หากสนใจก็ติดต่อได้ที่ ฟาร์มพุทธรักษา จ.สุรินทร์ 0811719125

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559

อาหารหมูลดต้นทุน

การเลี้ยงหมูในปัจจุบัน ของรายย่อย จะต้องแบกรับต้นทุนเรื่องค่าอาหาร มากกว่า50% ด้วยต้นทุนค่าอาหารในการเลี้ยงหมู ร้อยละ70 หากใช้อาหารสำเร็จรูปเต็มรูปแบบ จะต้องรับภาระ ค่าการตลาด กว่า30% ค่ากำไรของคนขาย 25-30% ค่าขนส่ง อีก10% รวมแล้วจะต้องควักเงินจ่ายในการเลี้ยงหมูมากกว่า ร้อยละ50 เพื่อให้การเลี้ยงหมู ของรายย่อย สามารถอยู่รอดได้ จึงต้องมีการพิจารณา และลงมือปฏิบัติการ เรื่องการผสมอาหารเองให้ได้เพื่อลดต้นทุน ก่อนจะผสมอาหาร ชาวหมูรายย่อยจะต้องเข้าใจก่อนว่า หมูต้องการอาหารอย่างไร นำไปใช้อย่างไร เสียก่อน ในอาหารหนึ่งส่วนหรือ100% หมูจะสามารถนำไปใช้ ในการดำรงชีวิตอยู่ ประมาณ 30% การสร้างภูมิคุ้มกันโรค 30% และเจริญเติบโตอีกประมาณ40% และแบ่งเป็น พลังงานทึ่ต้องใช้อีกไม่ต่ำกว่า 3 พันแคลลอรี่ โปรตีน แบ่งตามเกณท์น้ำหนัก ที่สำคัญคือจะต้องทำให้หมูนำอาหารไปใช้ได้หมด จุดนี้คือประเด็นที่จะชี้ให้เห็นว่า "จะทำอย่างไรไม่ให้มีกลิ่นของขี้หมู" การผลิตอาหารโดยทั่วไป ก็จะใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นเป็นหลัก เช่น ปลายข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด รำ กากปาล์ม ถั่วเหลือง ปลาป่น ฯลฯ ซึ่งรายย่อยก็สามารถหาได้เอง และที่ยังขาดคือ กลุ่มแร่ธาตุ วิตามิน ตรงนี้ต้องหามาจากผู้ผลิตเอาเอง เมื่อต้องการจะผลิตอาหารเอง จึงต้องศึกษา หาความรู้ให้เกิดความเข้าใจ จริงๆ ลงมือทำ จนเกิดความเชี่ยวชาญ นั่นก็คือ ชาวหมูรายย่อยจึงจะสามารถเลี้ยงหมูแล้วมีกำไร มากขึ้น เริ่มต้น ควรพิจารณาเรื่องวัตถุดิบก่อน ว่าจะใช้อะไรบ้าง วัตถุดิบในท้องถิ่นของเรามีอะไร ส่วนที่ขาดจะหาได้ที่ไหน เช่น แร่ธาตุ วิตามิน อื่นๆ
 สูตรอาหาร นำมาจากโปรแกรม ของ รศ.อุทัย คันโธ
ในสูตรส่วนผสม เราสามารถใส่วัตถุดิบลงไป และจะมีการแสดงจำนวนพลังงาน โปรตีน ราคา ขึ้นมาให้ทราบ เราจึงพิจารณาได้ว่าจะใช้สูตรผสมอย่างไร ที่เหมาะสมกับการใช้ บางพื้นที่มีปลายข้าว มีรำ ก็ใช้ตามที่มี บางที่มีข้าวโพด มีปาล์ม ก็เลือกใช้ ตามสะดวก แต่ต้องมีอาหารหลักคือ กากถั่วเหลือง เป็นหลัก ต่อมาคือการทำให้หมู สามารถนำอาหารไปใช้จนหมด ก็คือการดูแลสุขภาพหมู การป้องกันโรค ความสะอาดของอาหาร น้ำ คือเน้นการจัดการให้ดี จะทำให้หมูมีสุขภาพดี สามารถย่อย ขับถ่ายออกมา จนขี้หมูปราศจากกลิ่น และมีมันวาว แมลงวันก็ไม่มาใกล้ เพราะไม่มีอาหารคงค้างออกมากับขี้หมูแม้แต่นิดเดียว

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สุกรสายพันธุ์ลับ

สุกรพันธุ์ "สายลับ" หมายถึง สุกรสี่สายเลือด ประกอบด้วย พันธุ์ปากช่อง3 ปากช่อง4 ปากช่อง3.1 และดูร็อคสายกรมปศุสัตว์ ในสัดส่วน25%ของแต่ละสายพันธุ์ มีการผสมพันธุ์จากศูนย์วิจัยบำรุงพันธุ์สัตว์นครราชสีมา จากนั้นได้กระจายไปให้เกษตรกรที่เป็นเครือข่าย นำไปใช้ ผลจากการใช้ พบว่า เลี้ยงง่าย กินน้อย โตเร็ว ทนทาน ต่อโรค ซากสวย ตรงกับความต้องการของตลาด ฟาร์มพุทธรักษา ได้นำมาพัฒนาต่อ คือ ทำการผสม คัดเลือก ทดสอบ จนได้ผล เรื่องซาก ดี มีไขมันแทรก สามชั้นสวย โตดีขี้นกว่าเดิม กินน้อยกว่าเดิม จึงเหมาะกับรายย่อย ที่จะสามารถนำไปเลี้ยงแล้วมี ส่วนเหลือกำไร ที่สำคัญคือสามารถมีสุกรพันธุ์ใช้ได้อย่างต่อเนื่อง

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ทางเลือกทางรอดสำหรับการเลี้ยงหมูของรายย่อย

เมื่อการเลี้ยงหมู ของรายย่อย เป็นไปในลักษณะ แมงเม่าบินเข้ากองไฟ เพราะต้องแบกรับต้นทุน สูง ในการผลิต พอผลิตได้ก็ต้องยอมจำนนขายในราคาต่ำ เป็นภาวะจำยอม ของชาวหมูรายย่อย การจะเลี้ยงหมูให้ อยู่รอด จะต้อง ๑. มีพันธุ์หมูในมือ ใช้อย่างต่อเนื่อง ๒. มีการจัดการที่เยี่ยมที่สุด เช่นมีโรงเรือนที่ดี สะอาด มีระบบป้องกันโรค ที่ยอดเยี่ยม ๓. มีการผสมอาหารเอง ได้ เพื่อลดต้นทุนการผลิต ๔. มีตลาดรองรับที่แน่นอน เพียง ๔ ข้อ นี้หากทำได้ก็จะสามารถเลี้ยงหมูได้ อย่างต่อเนื่อง จะทำให้ลดต้นทุนเรื่องพันธุ์หมู ลดต้นทุนเรื่องอาหาร ไม่มีโรคเข้ามารบกวน มีตลาดที่แน่นอน เชื่อได้ว่า จะเป็นทางรอดของรายย่อย อย่างแน่นอน

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การเลี้ยงหมูในกระแสตกต่ำและการแข่งขันรุนแรง

ชะตากรรมร่วมกันของชาวหมู

ปัจจุบันชาวหมูชุมชนต้องเผชิญชะตากรรมร่วมกันคือ สภาวะความเลวร้ายด้านเศรษฐกิจ ที่เรียกว่าเศรษฐกิจตกต่ำ กำลังซื้อไม่ดี

ทางแก้คือต้องขายหมูในราคาที่ต่ำที่สุด แต่ให้มีส่วนเหลือพอจะประคองให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ ในเวลาที่ยาวนานอีกหลายเดือน โดยไม่สามารถทราบได้เลย ว่าจะดีขึ้นในเวลาใด มีข้อควรนำมาพิจารณาดังนี้

๑. หย่านมยาว
๒. เลี้ยงหมูไม่ต้องเร่ง
๓. หาอาหารในท้องถิ่นเข้ามาเสริม รำ ปลายข้าว กากมันหมัก หญ้าเนเปียร์ ยอดมันหมัก อื่นๆ
๔. ป้องกันโรค อย่าให้แม่หมูหรือหมูขุนป่วย
๕. หาเขียงที่พอจะช่วยกันได้ หรือไม่ก็เปิดเขียงเอง

หรืออิ่นๆ ที่จะนำมาใช้ได้

๑.รายละเอียดเรื่องการหย่านมยาว คือ ๔๕ วัน แล้วให้ลูกหมูกินอาหารไปพร้อมๆกับแม่พันธุ์
๒. เลี้ยงหมูไม่ต้องเร่ง หลังจากหย่านมจากแม่แล้ว ก็นำมาอนุบาล อีก ๑๕ วัน ด้วยอาหารของแม่พันธุ์
๓. นับจากนั้นก็ให้อาหารกินแบบเป็นมื้อ คือ ๓ มื้อ หรือ ๔ มื้อ คือให้กินแบบน้อยๆ แต่หมูที่ทำได้ดีกว่าคือกลุ่มปากช่อง ๓ หรือ  ๓.๑ หรือกลุ่มสายลับ