Powered By Blogger

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

เทคนิคการผลิตหมูให้ติดลูกดกและแก้ปัญหาการตายคลอด

๑. ต้นเหตุที่ทำให้หมูติดลูกน้อย

       สิ่งแรกคือ สายพันธุ์หมู ต่อมาคือ การจัดการ อาหาร สิ่งแวดล้อม โรงเรือน อุณหภูมิ ลำดับต่อไปคือ โรค และเทคนิคพิเศษในการจัดการ หลายฟาร์มมีความพยายามจะทำให้ได้ จำนวนการผสมติด การผลิตให้มีลูกดกๆ แต่กลับพบปัญหาอื่นตามมาให้แก้ตลอดเวลา เช่นความอ่อนแอ ไม่สม่ำเสมอ โรคเข้ามาแทรกมากมาย 

๒. ต้นเหตุที่ผลิตลูกหมู แล้วอัตราเลี้ยงรอดต่ำ

       หลักๆคือเรื่องการจัดการในระหว่างการอุ้มท้อง การใช้อาหาร การควบคุมโรค อีกมากมายที่คาดไม่ถึงคือเรื่องระบบน้ำสะอาด อาการป่วยขณะอุ้มท้อง อาหารที่มีสารพิษ เชื้อรา การจัดการพ่อพันธุ์ น้ำเชื้อ และสายพันธุ์ของพ่อพันธุ์ รวมถึงการควบคุมโรค ของพ่อพันธุ์ 

จากปัญหาที่กล่าวมา อาจจะยังไม่ครอบคลุม ทั้งหมด ขอใช้แบบกว้างๆ เพื่อความเข้าใจในเบื้องต้น

๓. เทคนิคการวางแผนเพื่อให้หมูติดลูกดก

      ๓.๑ สายพันธุ์ ในการสื่อความหมายครั้งนี้ ขอใช้บทเรียน และ ประสบการณ์ ในการเลี้ยงหมูของชาวบ้านที่ผ่านมา พบว่า ชาวบ้านยังไม่สามารถเลี้ยงหมูสายพันธุ์แลนด์เรซเลือดร้อยได้ดีเท่ากับฟาร์มมาตรฐานอุตสาหกรรม กลับพบว่าการเลี้ยงหมูลูกผสม ชาวบ้านสามารถเลี้ยงได้ดีกว่า  ดังนั้นสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับชาวบ้านคือสายพันธุ์ ผสม ที่มีเลือดสายแม่ที่มีมาจาก สายยอร์คเชียร์ หรือลาร์จไวท์ ที่ผสมกันกับหมูสายพ่อทุกประเภท เช่น ลาร์จ+ร็อค  ลาร์จ+เพียเทรน  ลาร์จ+แฮมเชียร์ ฯ จากนั้นก็ใช้พ่อสุดท้าย สายพันธุ์อื่น มาผสมเข้าเพื่อผลิตเป็นหมูขุน เป็นหลักที่ควรจะปรับไปในแนวทางนี้

      ๓.๒ การจัดการ แบบชาวบ้าน ที่เหมาะสม คือ คอก โรงเรือน ต้อง ทำให้หมูอยู่สบาย สะอาด ปราศจากเชื้อโรค มีน้ำสะอาด ควบคุมโรคอย่าให้บุคคลภายนอกเข้ามาและนำเชื้อโรคเข้าในเล้าหมู อาหารต้องเป็นอาหารที่ดี ปราศจากสารพิษ เชื้อรา หรืออื่นๆ  การดูแลเรื่องอากาศ อุณหภูมิ  ร้อนต้องทำให้เย็น หนาวก็ต้องทำให้อุ่น เทคนิคพิเศษอีกเรื่องคือการมีระบบการป้องกันยุง นก หนู และสัตว์อื่นๆ 

      ๓.๓ การผสมพันธุ์ ต้องใช้พ่อพันธุ์สายพันธุ์ดี ที่มีการจัดการพ่อพันธุ์ อย่างดีที่สุด น้ำเชื้อแข็งแรง หลีกเลี่ยงการนำพ่อพันธุ์ไปเร่ผสม เพราะจะทำให้พ่อพันธุ์ มีเชื้อโรคมาติดแม่พันธุ์ และการจัดการแม่พันธุ์ก่อนผสมต้อง ทำให้ถูกต้องตาม แบบการเลี้ยงแม่พันธุ์ เช่น แม่พันธุ์ต้องมีความพร้อมและสมบูรณ์พันธุ์ ที่ดี มีการใช้ยา หรือ วัคซีน ถูกต้อง การจับสัด ต้องแม่นยำ การผสมก็ควรใช้การผสมเทียม หรือไม่ก็มีพ่อพันธุ์เอง  

      ๓.๔ การดูแลช่วงการอุ้มท้อง เมื่อผสมติดแล้ว ก็ให้ทำการจัดการ แม่พันธุ์อย่างดีที่สุด ไม่มีการกระกระเทือน อาหารดี อากาศดี น้ำสะอาด ที่สำคัญเรื่องการให้อาหาร ต้องทำอย่างถูกต้อง 

      ๓.๕ การดูแลช่วงการคลอด ก่อนคลอดลดอาหาร ช่วงเวลาคลอด ต้องจัดการด้วยความละเอียด ทั้ง ยา ช่วยคลอด ยาแก้อักเสบ วิตามิน รวมถึงเครื่ืองมือในการช่วยคลอด การจัดการลูกหมูหลังคลอด ต้องทำให้ถูกต้อง เทคนิคพิเศษ อื่นๆ อีกมากมาย เช่น การสังเกตท้อง ว่ายังมีลูกหลงเหลืออยู่หรือไม่ ลูกติดในท้องหรือไม่ ฯลฯ

      ๓.๖ การดูแลให้แม่หมูเลี้ยงลูก รอดมากที่สุด เช่น การทับลูก การกกลูกหมู ระบบการป้องกัน การจัดให้ลูกหมูมี น้ำสะอาด มีอาหารเลียราง 

เป็นเพียงแนวทางที่อาจจะยังไม่ครอบคลุม แต่ก็เป็นเทคนิค ที่พอที่จะนำไปใช้ได้ ในเบื้องต้น อาจจะดูว่ายาก แต่หากสามารถปฏิบัติได้ ก็น่าจะช่วยให้ได้ลูกหมู จำนวนที่มากขึ้น 







วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2558

การทำให้หมูกล้าม

ปัจจุบันชาวหมูที่เลี้ยงรายย่อยมีความสนใจหมูที่มีกล้ามมากขึ้น ด้วยความสวย และขายง่าย กว่าหมูสามสายทั่วไป
 หมูกล้ามคือหมูที่มีสายเลือดเพียเทรน และหมูกลุ่มนี้ยังมียีนส์เครียด จึงต้องมีการถอดยีนส์เครียด