Powered By Blogger

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การเลี้ยงหมูในกระแสตกต่ำและการแข่งขันรุนแรง

ชะตากรรมร่วมกันของชาวหมู

ปัจจุบันชาวหมูชุมชนต้องเผชิญชะตากรรมร่วมกันคือ สภาวะความเลวร้ายด้านเศรษฐกิจ ที่เรียกว่าเศรษฐกิจตกต่ำ กำลังซื้อไม่ดี

ทางแก้คือต้องขายหมูในราคาที่ต่ำที่สุด แต่ให้มีส่วนเหลือพอจะประคองให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ ในเวลาที่ยาวนานอีกหลายเดือน โดยไม่สามารถทราบได้เลย ว่าจะดีขึ้นในเวลาใด มีข้อควรนำมาพิจารณาดังนี้

๑. หย่านมยาว
๒. เลี้ยงหมูไม่ต้องเร่ง
๓. หาอาหารในท้องถิ่นเข้ามาเสริม รำ ปลายข้าว กากมันหมัก หญ้าเนเปียร์ ยอดมันหมัก อื่นๆ
๔. ป้องกันโรค อย่าให้แม่หมูหรือหมูขุนป่วย
๕. หาเขียงที่พอจะช่วยกันได้ หรือไม่ก็เปิดเขียงเอง

หรืออิ่นๆ ที่จะนำมาใช้ได้

๑.รายละเอียดเรื่องการหย่านมยาว คือ ๔๕ วัน แล้วให้ลูกหมูกินอาหารไปพร้อมๆกับแม่พันธุ์
๒. เลี้ยงหมูไม่ต้องเร่ง หลังจากหย่านมจากแม่แล้ว ก็นำมาอนุบาล อีก ๑๕ วัน ด้วยอาหารของแม่พันธุ์
๓. นับจากนั้นก็ให้อาหารกินแบบเป็นมื้อ คือ ๓ มื้อ หรือ ๔ มื้อ คือให้กินแบบน้อยๆ แต่หมูที่ทำได้ดีกว่าคือกลุ่มปากช่อง ๓ หรือ  ๓.๑ หรือกลุ่มสายลับ

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

เทคนิคการผลิตหมูให้ติดลูกดกและแก้ปัญหาการตายคลอด

๑. ต้นเหตุที่ทำให้หมูติดลูกน้อย

       สิ่งแรกคือ สายพันธุ์หมู ต่อมาคือ การจัดการ อาหาร สิ่งแวดล้อม โรงเรือน อุณหภูมิ ลำดับต่อไปคือ โรค และเทคนิคพิเศษในการจัดการ หลายฟาร์มมีความพยายามจะทำให้ได้ จำนวนการผสมติด การผลิตให้มีลูกดกๆ แต่กลับพบปัญหาอื่นตามมาให้แก้ตลอดเวลา เช่นความอ่อนแอ ไม่สม่ำเสมอ โรคเข้ามาแทรกมากมาย 

๒. ต้นเหตุที่ผลิตลูกหมู แล้วอัตราเลี้ยงรอดต่ำ

       หลักๆคือเรื่องการจัดการในระหว่างการอุ้มท้อง การใช้อาหาร การควบคุมโรค อีกมากมายที่คาดไม่ถึงคือเรื่องระบบน้ำสะอาด อาการป่วยขณะอุ้มท้อง อาหารที่มีสารพิษ เชื้อรา การจัดการพ่อพันธุ์ น้ำเชื้อ และสายพันธุ์ของพ่อพันธุ์ รวมถึงการควบคุมโรค ของพ่อพันธุ์ 

จากปัญหาที่กล่าวมา อาจจะยังไม่ครอบคลุม ทั้งหมด ขอใช้แบบกว้างๆ เพื่อความเข้าใจในเบื้องต้น

๓. เทคนิคการวางแผนเพื่อให้หมูติดลูกดก

      ๓.๑ สายพันธุ์ ในการสื่อความหมายครั้งนี้ ขอใช้บทเรียน และ ประสบการณ์ ในการเลี้ยงหมูของชาวบ้านที่ผ่านมา พบว่า ชาวบ้านยังไม่สามารถเลี้ยงหมูสายพันธุ์แลนด์เรซเลือดร้อยได้ดีเท่ากับฟาร์มมาตรฐานอุตสาหกรรม กลับพบว่าการเลี้ยงหมูลูกผสม ชาวบ้านสามารถเลี้ยงได้ดีกว่า  ดังนั้นสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับชาวบ้านคือสายพันธุ์ ผสม ที่มีเลือดสายแม่ที่มีมาจาก สายยอร์คเชียร์ หรือลาร์จไวท์ ที่ผสมกันกับหมูสายพ่อทุกประเภท เช่น ลาร์จ+ร็อค  ลาร์จ+เพียเทรน  ลาร์จ+แฮมเชียร์ ฯ จากนั้นก็ใช้พ่อสุดท้าย สายพันธุ์อื่น มาผสมเข้าเพื่อผลิตเป็นหมูขุน เป็นหลักที่ควรจะปรับไปในแนวทางนี้

      ๓.๒ การจัดการ แบบชาวบ้าน ที่เหมาะสม คือ คอก โรงเรือน ต้อง ทำให้หมูอยู่สบาย สะอาด ปราศจากเชื้อโรค มีน้ำสะอาด ควบคุมโรคอย่าให้บุคคลภายนอกเข้ามาและนำเชื้อโรคเข้าในเล้าหมู อาหารต้องเป็นอาหารที่ดี ปราศจากสารพิษ เชื้อรา หรืออื่นๆ  การดูแลเรื่องอากาศ อุณหภูมิ  ร้อนต้องทำให้เย็น หนาวก็ต้องทำให้อุ่น เทคนิคพิเศษอีกเรื่องคือการมีระบบการป้องกันยุง นก หนู และสัตว์อื่นๆ 

      ๓.๓ การผสมพันธุ์ ต้องใช้พ่อพันธุ์สายพันธุ์ดี ที่มีการจัดการพ่อพันธุ์ อย่างดีที่สุด น้ำเชื้อแข็งแรง หลีกเลี่ยงการนำพ่อพันธุ์ไปเร่ผสม เพราะจะทำให้พ่อพันธุ์ มีเชื้อโรคมาติดแม่พันธุ์ และการจัดการแม่พันธุ์ก่อนผสมต้อง ทำให้ถูกต้องตาม แบบการเลี้ยงแม่พันธุ์ เช่น แม่พันธุ์ต้องมีความพร้อมและสมบูรณ์พันธุ์ ที่ดี มีการใช้ยา หรือ วัคซีน ถูกต้อง การจับสัด ต้องแม่นยำ การผสมก็ควรใช้การผสมเทียม หรือไม่ก็มีพ่อพันธุ์เอง  

      ๓.๔ การดูแลช่วงการอุ้มท้อง เมื่อผสมติดแล้ว ก็ให้ทำการจัดการ แม่พันธุ์อย่างดีที่สุด ไม่มีการกระกระเทือน อาหารดี อากาศดี น้ำสะอาด ที่สำคัญเรื่องการให้อาหาร ต้องทำอย่างถูกต้อง 

      ๓.๕ การดูแลช่วงการคลอด ก่อนคลอดลดอาหาร ช่วงเวลาคลอด ต้องจัดการด้วยความละเอียด ทั้ง ยา ช่วยคลอด ยาแก้อักเสบ วิตามิน รวมถึงเครื่ืองมือในการช่วยคลอด การจัดการลูกหมูหลังคลอด ต้องทำให้ถูกต้อง เทคนิคพิเศษ อื่นๆ อีกมากมาย เช่น การสังเกตท้อง ว่ายังมีลูกหลงเหลืออยู่หรือไม่ ลูกติดในท้องหรือไม่ ฯลฯ

      ๓.๖ การดูแลให้แม่หมูเลี้ยงลูก รอดมากที่สุด เช่น การทับลูก การกกลูกหมู ระบบการป้องกัน การจัดให้ลูกหมูมี น้ำสะอาด มีอาหารเลียราง 

เป็นเพียงแนวทางที่อาจจะยังไม่ครอบคลุม แต่ก็เป็นเทคนิค ที่พอที่จะนำไปใช้ได้ ในเบื้องต้น อาจจะดูว่ายาก แต่หากสามารถปฏิบัติได้ ก็น่าจะช่วยให้ได้ลูกหมู จำนวนที่มากขึ้น 







วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2558

การทำให้หมูกล้าม

ปัจจุบันชาวหมูที่เลี้ยงรายย่อยมีความสนใจหมูที่มีกล้ามมากขึ้น ด้วยความสวย และขายง่าย กว่าหมูสามสายทั่วไป
 หมูกล้ามคือหมูที่มีสายเลือดเพียเทรน และหมูกลุ่มนี้ยังมียีนส์เครียด จึงต้องมีการถอดยีนส์เครียด


วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

ชาวบ้านเลี้ยงหมูจะแก้ปัญหาในการเลี้ยงหมูอย่างไร?

๑.ย้อนรอยหมูชาวบ้าน

      ชาวบ้านไม่เคยละทิ้งการเลี้ยงหมูตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่มีหมู่บ้าน ตรงนี้เป็นที่เข้าใจกันดี แม้ว่าจะเกิดราคาตกต่ำ มีโรคระบาด ภัยพิบัติต่างๆ จึงกล่าวได้อย่างเต็มปากเต็มคำ ว่า "ชาวบ้านไม่เคยเลิกเลี้ยงหมูแน่นอน"



       ต้นสายปลายเหตุ มาจากหมูกับชาวบ้านคู่กัน มีชีวิตร่วมกันมา ยาวนาน มีความผูกพันธ์ มีอาหารในท้องถิ่น มีแม่หมูที่ผลิตลูกเองได้ มีตลาดที่แน่นอน เช่นงานบุญประเพณี ต่างๆ

๒. นานาวิธีการแก้ปัญหาในการเลี้ยงหมูของชาวบ้าน

      ๑. การแก้ปัญหาเรื่องพันธุ์หมู แม้ในอดีตจะใช้หมู ควาย หมูกี้ หมูกระโดน หมูป่า และในปัจจุบันจะมีแม่หมูสายพันธุ์ดี ตามสถานการณ์ เช่น มีพันธุ์ แลนด์ ลาร์จ ดูร็อค เพียแตรง เหมยซาน หรือลูกผสมอื่นๆ มากมาย การแก้ปัญหาพันธุ์หมูของชาวบ้าน ความจริงไม่ได้ยึดติดกับหมูในระบบอุตสาหกรรม มากนักเพราะบางครั้งก็เก็บลูกหมูขุน หรือลูกผสมอื่นๆมาเป็นแม่พันธุ์ได้ โดยไม่ต้องเสียเงินจำนวนมากๆไปกับการหาซื้อหมูสายพันธุ์แท้เลือดร้อยมาเลี้ยง  พอสรุปได้ว่า "หมูสายพันธุ์ลูกผสม เหมาะกับชาวบ้านอย่างแท้จริง"

     ๒. การแก้ปัญหา เรื่อง การจัดการ ต่างๆ
           ๑) อาหาร ในอดีต จะใช้อาหารในท้องถิ่น เช่นรำตามโรงสี ขนาดเล็กๆ บางครั้งก็ใช้ผักชนิดต่างๆ หรืออื่นๆ แม้ในปัจจุบันนี้จะใช้อาหารสำเร็จรูปเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ยังไม่ทิ้งอาหารในท้องถิ่นอยู่ดี จึงทำให้มีต้นทุนในการเลี้ยงต่ำ
            ๒) โรงเรือน เป็นที่แน่นอน ว่า ใช้วัสดุที่มีตามท้องถิ่น จึงทำให้มีต้นทุนต่ำ
            ๓) เรื่องโรค ด้วยการใช้หมูลูกผสม จึงมีความแข็งแรง สามารถต้านทานโรคได้ ดีกว่าหมูสายพันธุ์แท้ แม้จะมีโรคมาบ้างก็สามารถใช้สมุนไพร มาใช้แทนได้ เช่นหมูท้องเสียก็ใช้กล้วยน้ำว้า หมูเป็นไข้ก็ใช้ฟ้าทะลายโจร หรืออื่นๆ
            ๔) การตลาด เป็นที่แน่นอนแล้วว่า ตลาดคือตลาดในท้องถิ่น งานบุญประเพณี  ตามเทศกาลต่างๆ แม้ราคาจะต่ำกว่าท้องตลาด ชาวบ้านก็สามารถขายได้และมีส่วนเหลือ
         
          "ดังนั้น การเลี้ยงหมูชาวบ้าน มีต้นทุนต่ำแน่นอน"



๓. ทิศทางข้างหน้าของชาวบ้านเลี้ยงหมู

      วันนี้ชาวบ้านปรับการเลี้ยงหมูด้วยสายพันธุ์หมู ลูกผสม มีการจัดการในการเลี้ยงที่ต่ำ และมีตลาดในท้องถิ่นที่แน่นอน แม้ราคาในการขายจะไม่สูง แต่ก็ยังอยู่ได้ และราคาจะมีแนวโน้มว่าจะไม่มีการขยับราคาไปตลอดทั้งปี นี้ 2558 ชาวบ้านก็พอใจในราคาที่อยู่ในระดับนี้ ขอเพียงว่าอย่าให้ต่ำไปกว่านี้
      ต่อไปชาวบ้านก็จะปรับการเลี้ยงด้วย ผลิตแม่พันธุ์เอง ขายลูกหมูบ้าง ขุนเองบ้าง แม้ราคาจะปรับตัวไปอย่างไร ก็จะยังเลี้ยงเหมือนเดิม



















     

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

หมูหมูใครว่าหมู

ราคาหมูวันนี้ไม่ได้มีแรงจูงใจให้คนเลี้ยงหมู
น่าจะเป็นเรื่องดีที่ไม่เกิดปฏิกริยากระตุ้นให้คนแห่มาเลี้ยงมากขึ้น ผลดีที่จะเกิดคือราคาจะมีความเสถียรดี ช่วงจังหวะอย่างนี้ ผู้เลี้ยงต้องทำการปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์ การจัดการ และต้องทำให้ต้นทุนต่ำที่สุด เช่นต้นทุนลูกหมูหย่านมต้องไม่เกิน 400 บาท อนุบาล ตัวละ 700บาท ขุนตัวละ 3500บาท รวมเป็น4600บาท เมื่อขายหมูขุนได้6000บาท จะทำให้มีเงินเหลือประมาณตัวละ 1400บาท หากเลี้ยง 10ตัว ก็จะมีเงินเหลือ 14000 บาท ในปีหนึ่งเลี้ยงเพียง 2 รุ่น ก็จะมีเงินเหลือ 28000 บาท

ในทางกลับกัน  อาจจะมีความคิดว่าหากเลี้ยงมากขึ้นก็จะได้มากขึ้น โดยมากจะพบว่าจะไม่สามารถจัดการได้

จึงอยากขอให้ลองนำไปปรับใช้ดูและขอให้ประสบผลสำเร็จ

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ผลผลิต ปากช่อง 3

ปากข่อง 3 ผลผลิตที่ ถูกพัฒนา จาก พุทธรักษา ฟาร์ม


ปากช่อง 3 และ 3.1

วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การเลี้ยงหมู สู้วิกฤติของชาวบ้าน

เมื่อชาวบ้านจะเลี้ยงหมูจะเลี้ยงอย่างไรให้มีกำไร? ในเมื่อการเลี้ยงแบบชาวบ้านจะถูก แรงบีบรอบด้าน เช่น

๑ พันธุ์หมู ต้องซื้อแพง
๒ อาหาร แพงกว่า เกือบ 30%
๓ การจัดการเรื่องโรค ยา ยังแย่
๔ การจำหน่าย ราคายังถูก กดไว้ ต่ำๆ

เป็น ๔ ปัญหาหลัก ของรายย่อย ระดับชาวบ้าน

การแก้โจทย์ ของชาวบ้าน แก้ได้โดย

๑ ผลิตพันธุ์หมูเองให้ได้ (ต้องเป็นหมูที่กินน้อยกว่า ภาคอุตสาหกรรม 30 %)
๒ ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น มาประกอบเป็นอาหารให้หมูกิน มากที่สุด เท่าที่จะทำได้
๓ ต้องจัดการ เรื่องโรค ให้ได้ มีระบบการป้องกัน ที่ดี 
๔ ทำตลาดเอง คือ มีการทำเขียง หรือขายในงานบุญประเพณี 

หากสามารถทำได้ การเลี้ยงหมูของชาวบ้าน ก็จะประสบผลสำเร็จ 


การตรวขสุกรท้องด้วยมือ

การตรวจโดยการล้วงผ่านทางทวารหนัก การล้วงทางทวารหนัก สามารถสัมผัสตรวจสอบขนาดของรังไข่ รวมทั้งขนาดและจำนวนของกระเปาะไข่ และคอร์ปัสลูเทียมได้ด้วย แต่ต้องใช้ความชำนาญอย่างสูง และอาจกระทบกระเทือนต่อการตั้งท้องได้ แต่การล้วงคลำคอมดลูก ซึ่งจะนิ่มกว่าปกติ หรือสัมผัสเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงมดลูก ทำได้สะดวกและง่ายกว่ามาก เมื่อสุกรตั้งท้อง เส้นเลือดที่มาเลี้ยงมดลูก (Uterine Artery) ที่เดิมมีขนาด 1 - 3 มม. จะขยายใหญ่ขึ้นเป็น 5 - 8 มม. เมื่อตั้งท้อง 35 วันขึ้นไป และเนื่องจากสุกรท้องมีเลือดมาเลี้ยงปริมาณมาก จึงเต้นแรงมากกว่าปกติ โดยเฉพาะบริเวณที่ เส้นเลือดนี้มาตัดกับเส้นเลือด External iliac Artery จะชัดเจนมาก วิธีนี้มีความแม่นยำ สูงถึง 97 %


ปากช่อง 4




หมูที่มีเลือด แฮมเชียร์ กับดูร็อค เป็นหมูสายพันธุ์ที่แข็งแกร่ง อีกพันธุ์หนึ่ง ที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ทนอากาศร้อนได้ดีกว่า