Powered By Blogger

วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ผสมหมูให้ติดลูกดกแบบชาวบ้าน

 การผสมหมูให้ติดลูกจำนวนมาก (ตอนที่ ๑)

หมูลูกดก เชื่อว่าทุกคนที่เลี้ยงหมูต่างต้องการกันทุกคน ซึ่งในความเป็นจริง ไม่สามารถทำได้ตามที่ต้องการเสมอไป เพราะอะไร

๑. พันธุ์หมู
๒. อาหารการจัดการ
๓. การป้องกันโรค
๔. อากาศ สิ่งแวดล้อม ระบบน้ำดื่ม
๕. อื่นๆ

คงจะคล้ายๆกันกับการจัดการในระบบอุตสาหกรรม  แต่ในบทของการนำเสนอในการสื่อสารครั้งนี้จะเน้นการจัดการแบบนอกระบบอุตสาหกรรม เพื่อให้เกษตรกรรายย่อย นำไปปฏิบัติได้

การนำสื่อครั้งนี้ ใช้ผลจากการดำเนินงานในการเลี้ยงของรายย่อย ที่ประสบผลสำเร็จมาเป็นแนวทาง อาจจะมีความแตกต่างกันไปบ้าง ก็คงจะสามารถนำไปปรับใช้ได้

จะหาพันธุ์หมู คือพันธุ์อะไร ที่ใช้การเลี้ยงแบบชาวบ้านๆ ได้และสามารถให้ลูกมากๆ เจอโจทย์คำถามนี้เข้าไป ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญ เรื่องหมู จะบอกว่า หมูพันธุ์อะไร ผู้เขียนก็อยากรู้เหมือนกัน

หากตอบว่า แลนด์เรซสิครับ

จริงหรือครับ

อยากถามว่า ชาวบ้านเลี้ยงแลนด์เรซ หรือผสมกับ ลาร์จไวท์ เป็นสองสาย แล้ว ประสบผลสำเร็จ มีกี่มากน้อย

เอาละไม่ก้าวล่วงไปมากมาย บางคนประสบผลสำเร็จ บางคนก็ไม่ประสบผลสำเร็จ แตกต่างกันไป

คงจะไม่ไปอธิบายเรื่องทำให้แม่แลนด์ติดลูกมากๆ มากล่าวในครั้งนี้ เพราะมีหลายสำนักเขาทำกันแล้ว

มาดูชาวบ้านเขาทำหมูนอกระบบให้ติดลูกมากๆกันดีกว่า

เอาไว้มาต่อตอนต่อไปนะครับ

มาต่อในตอนที่ ๒

เป็นกรณีศึกษา จากการเลี้ยงของรายย่อย ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้กับรายย่อยทั่วไป

๑. หาหมูที่มีความเป็นแม่ โดยดูจากประวัติส่วนตัวของหมู เช่นการเลี้ยงลูก การถ่ายทอด ความสม่ำเสมอ ของลูกหมู การเลี้ยงลูก
๒. เป็นหมูสายพันธุ์ผสม สองสาย หรือสี่สาย(ในกรณีที่อาจจะหาได้) อาจจะมีแลนด์เรซด้วยหรือไม่มีก็ได้ ในกรณีที่ใช้อยู่ พบว่า ปากช่อง 3 ผสมกับ ปากช่อง 4 มีความลงตัวมากที่สุด และนำไปผสมกับ ดูร็อค ทำเป็นหมูขุน หรือหากต้องการได้สีขาว สวยๆ ก็จบด้วยพ่อสุดท้ายคือ ปากช่อง 3 อีกก็ได้ (แต่อาจจะไม่แข็งเท่ากับร็อค)
๓. เลือกตัวที่มีเต้านม มากที่สุด 6:6 /7:7/8:8
๔. หมูสาว ควรผสมเมื่ออายุ 9-10 เดือน
๕. วัคซีนพาร์โวไวรัส ให้ก่อนผสม 5-7 วัน และวิตามิน ADE3E
๖. การผสม จริง ควรผสม เช้า-เช้า / เย็น-เย็น อาบน้ำก่อน - หลัง ผสม และเมื่ออากาศร้อนตอนช่วงบ่ายๆ
หากผสมเทียม ในหมูสาว ในวันที่ยืนนิ่งที่สุด หมูนาง ผสมในวันที่จะใกล้จะลงจากการเป็นสัด ประมาณวันที่ 3-5 
ลดอาหารลง เหลือวันละ 0.7 กก./มื้อ เป็นเวลา 7 วัน หลังจากนั้นก็ค่อยๆเพิ่มปริมาณ ขึ้นไป เป็น 1 กก./มื้อ ระยะเวลา เดือนแรก เดือนที่ 2 เพิ่มเป็น 1.5 กก./มื้อ เดือนที่ 3 เพิ่มเป็น 2.5 กก./มื้อ ก่อนคลอด 15 วัน ลดอาหารลงเหลือ 0.7 กก./มื้อ จนถึงวันคลอด 

ความรู้ในการจัดการมาจากการเลี้ยงแบบมาตรฐานโดยทั่วๆไป แต่อาจจะต่างกันอยู่บ้างในเรื่องของอาหารที่การเลี้ยงหมูนอกระบบมาตรฐาน ไม่ได้ใช้มากเหมือนระบบมาตรฐาน แต่ต้องดูที่ bodyscore ประกอบด้วยและอย่าลืมเรื่องการป้องกันโรค แบบเข้มงวด การถ่ายพยาธิ การป้องกัน ลม แดด ความร้อน แมลง ยุง ความเครียดที่จะเกิดขึ้นในระยะการอุ้มท้อง  อาหารที่ต้องปราศจากเชื้อรา

อีกมากครับ ในการดูแล การจัดการ ที่ต้องละเอียดรอบคอบ อาจจะเรียกว่า ปราณีตที่สุด หมูจึงจะให้ผลตอบแทนแก่คนเลี้ยงได้

ต้องทำให้ได้ หากต้องการผลผลิตที่มาก ขึ้น หากปล่อยปละละเลย ก็จะได้รับผลตอบแทนน้อยตามไปด้วยครับ

ไม่มีความคิดเห็น: