Powered By Blogger

วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การผสมพันธุ์สุกรสายพันธุ์ปากช่อง3

ปากช่อง 3

สุกรพันธุ์ปากช่อง 3
เป้าหมายในการสร้างสุกรพันธุ์ปากช่อง 3
ต้นแบบสำหรับสุกรพันธุ์ปากช่อง 3 ต้องเป็นสุกรที่มีสีขาวตลอดลำตัวหูตั้ง รูปร่างสมส่วนแต่จะมีกล้ามเนื้อมากเป็นพิเศษบริเวณไหล่ สันหลัง และสะโพก จากรูปร่างที่มีกล้ามเนื้อมากจำเป็นต้องมีขาหน้าและขาหลังที่แข็งแรงใช้ในการรับน้ำหนักตัว คุณลักษณะทางเศรษฐกิจที่สำคัญเมื่อทดสอบจากน้ำหนัก 30-90 กิโลกรัมมีดังนี้
• อัตราการเจริญเติบโตวันละ800 กรัมขึ้นไป
• ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารน้อยกว่า 2.60
• ความหนาไขมันสันหลัง 1.0 เซนติเมตร
• อายุจากเกิดถึงน้ำหนัก 90 กิโลกรัมไม่เกิน 154 วัน
• พื้นที่หน้าตัดเนื้อสันไม่น้อยกว่า 36.0 ตารางเซนติเมตร
• ความยาวลำตัว 102.5 เซนติเมตรขึ้นไป
• ความกว้างรอบอก 98.5 เซนติเมตร
• ความสูง 61 เซนติเมตร
• กินอาหาร 160 กิโลกรัม
• เต้านมซ้าย - ขวา 7-7
วิธีการดำเนินการ
คัดเลือกสุกรพันธุ์ลาร์จไวท์และพันธุ์เปียแตรงที่จะมาใช้เป็นต้นกำเนิดพันธุกรรมชุดใหม่และดำเนินการผสมผสานพันธุกรรมที่ดี (genetic pooled) ระหว่างสุกรพันธุ์ลาร์จไวท์และพันธุ์เปียแตรงสำหรับใช้เป็นพ่อพันธุ์สุดท้าย (Terminal boar) สำหรับผลิตสุกรขุนที่มีลักษณะทางเศรษฐกิจดีเพื่อลดต้นทุนในการผลิต ซากมีเนื้อแดงมากเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคโดยคัดเลือกลักษณะความมีกล้ามเนื้อมากที่สุดในโลกของสุกรพันธุ์เปียแตรงและความสามารถในการเจริญเติบโตที่ดีมีโครงร่างที่ใหญ่โตของพันธุ์สุกรพันธุ์ลาร์จไวท์จากฝูงของศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์นครราชสีมา เข้ามาใช้ในการพัฒนาพันธุ์นี้มีขั้นตอนในการดำเนินงานดังต่อไปนี้
1. ดำเนินการผสมข้ามพันธุ์เพื่อรวมลักษณะดีของพันธุ์ลาร์จไวท์และพันธุ์เปียแตรงที่ต้องการตามเป้า หมายให้รวมอยู่ในรุ่นลูกสุกรที่เกิดขึ้นให้เรียกสุกรกลุ่มนี้ว่าสุกรต้นแบบเป็นรุ่น F1 (ชั่วที่ 1)
2. นำสุกรรุ่น F1 ที่มีลักษณะที่ต้องการและดำเนินการผสมพันธุ์ในรุ่นเดียวกันเพื่อผลิตสุกรรุ่น F2
3. คัดเลือกสุกรรุ่น F2 ที่มีลักษณะที่ต้องการและดำเนินการผสมพันธุ์ในเดียวกันเพื่อผลิตสุกรรุ่น F3
4. คัดเลือกสุกรรุ่น F3 ที่มีลักษณะที่ต้องการและดำเนินการผสมพันธุ์ในรุ่นเดียวกันเพื่อผลิตสุกรรุ่น F4
5. คัดเลือกสุกรรุ่น F4 ที่มีลักษณะที่ต้องการและดำเนินการผสมพันธุ์ในรุ่นเดียวกันเพื่อผลิตสุกรรุ่น F5
6. ดำเนินการทดสอบความแปรปรวนระหว่างสุกรรุ่น F4 และ F5 ในลักษณะทางเศรษฐกิจที่ตั้งเป้าหมายไว้ กรณีความแปรปรวนระหว่างกลุ่มสุกรรุ่น F4 และ F5 มีค่าไม่แตกต่างกัน สรุปว่า สุกรรุ่น F5 ใช้เป็นสุกรพันธุ์ปากช่อง 3 ได้แล้ว (มียีนที่เป็น Homozygous ตามที่ต้องการ) กรณีความแปรปรวนระหว่างสุกรรุ่น F4 และ F5 มีความแตกต่างกัน สรุปว่า สุกรรุ่น F5 มีค่าแตกต่างกัน สรุปว่า สุกรรุ่น F5 ยังใช้ไม่ได้
7. คัดเลือกสุกรรุ่น F5 ที่มีลักษณะที่ต้องการและดำเนินการผสมพันธุ์ในรุ่นเดียวกันเพื่อผลิตสุกรรุ่น F6
8. ดำเนินการทดสอบความแปรปรวนระหว่างสุกรรุ่น F5 และ F6 ในลักษณะที่ตั้งเป้าหมายไว้กรณีความแปรปรวนระหว่างสุกรรุ่น F5 และ F6 มีค่าไม่แตกต่างกัน สรุปว่า สุกรรุ่น F6 ใช้เป็นสุกรพันธ์ปากช่อง 3 ได้แล้วและสามารถดำเนินการขยายพันธุ์ให้เกษตรกรนำไปใช้ต่อไป
โครงสร้างของฝูง
จำนวนพ่อพันธุ์ต่อจำนวนแม่พันธุ์ เท่ากับ 1: 5โดยมีพ่อพันธุ์ 10 ตัว แม่พันธุ์50 ตัว คัดเลือกลูกสุกรแม่ละ 4 ตัวเพศผู้ 2 ตัว เพศเมีย 2 ตัว จำนวนทั้งสิ้น 200 ตัว สำหรับดำเนินการทดสอบพันธุ์ เมื่อสิ้นสุดการทดสอบพันธุ์ทำการคัดเลือกพ่อพันธุ์เพื่อทดแทน 10 เปอร์เซ็นต์ให้มีพ่อพันธุ์ 10 ตัวต่อรุ่นและมีความเข้มข้นในการคัดเลือกพ่อพันธุ์เท่ากับ 1.730 คัดเลือกแม่พันธุ์ 50 เปอร์เซ็นต์ให้มีแม่พันธุ์ 50 ตัวต่อรุ่นและมีความเข้มข้นในการคัดเลือกแม่พันธุ์เท่ากับ 0.792 โดยมีความเข้มข้นในการคัดเลือกพันธุ์แต่ละรุ่นเท่ากับ 1.26 เกณฑ์ในการคัดเลือกใช้วิธีกำหนดมาตรฐานในแต่ละลักษณะ (Independent culling level ) และใช้ดัชนีการคัดเลือก(Selection index) ขึ้นอยู่กับลักษณะคุณภาพและลักษณะปริมาณตามที่กำหนดไว้
การคัดเลือก
ดำเนินการคัดเลือกด้วยวิธี 2 วิธีดังนี้
1. กำหนดมาตรฐานในแต่ละลักษณะ (Independent culling level) มีมาตรฐานในแต่ละลักษณะดังนี้
1.1 สีขาวตลอดลำตัว
1.2 หูตั้ง
1.3 มีกล้ามเนื้อมากเป็นพิเศษบริเวณไหล่ สันหลัง และสะโพก โดยมี
ความกว้างอก 32 เซนติเมตรขึ้นไป
ความกว้างเอว 25 เซนติเมตรขึ้นไป
ความกว้างสะโพก 32 เซนติเมตรขึ้นไป
1.4 มีขาหน้าและขาหลังที่แข็งแรง
1.5 อายุจากเกิดถึงน้ำหนัก 90 กิโลเมตรไม่เกิน154 วัน
1.6 พื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน 36.0 ตารางเซนติเมตรขึ้นไป
2. ดัชนีการคัดเลือก (Selection index)
ใช้ดัชนีการคัดเลือกควบคู่ไปกับวิธีกำหนดมาตรฐานในแต่ละลักษณะโดยลักษณะ อัตราการเติบโต ประสิทธิภาพการให้อาหารและความหนาไขมันสันหลัง ใช้ดัชนีการคัดเลือก มีค่าเฉลี่ยของแต่ละลักษณะดังนี้
อัตราการเจริญเติบโต = 800 กรัม/วัน
ประสิทธิภาพการใช้อาหาร = 2.60
ความหนาไขมันสันหลัง = 1.0 เซนติเมตร
ดัชนีการคัดเลือกมีสมการดังนี้
Index = 100+(10*ADG-800)/1000)-13.13*(FCR-2.60)-2.94*(BF-1)/2.54
ตารางที่ 1 ลักษณะทางเศรษฐกิจ และรูปร่างของสุกรทั้ง 3 พันธุ์
ข้อมูล
พันธุ์ปากช่อง 3
พันธุ์ลาร์จไวท์
พันธุ์เปียแตรง
ปริมาณอาหารที่กินต่อวัน (กิโลกรัม)
2.07
1.99
1.95
อายุเมื่อน้ำหนัก 90 กิโลกรัม(วัน)
157.0
152.15
173.26
อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (กรัม)
824.57
822.55
72707
ประสิทธิภาพการใช้อาหาร
2.53
2.43
2.73
ความหนาไขมันสันหลัง (เซนติเมตร)
1.06
1.10
1.01
พื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน (ตารางเซนติเมตร)
39.03
33.97
40.32
ความกว้างไหล่(เซนติเมตร)
32.10
30.12
32.56
ความกว้างเอว (เซนติเมตร)
25.32
24.93
25.51
ความกว้างสะโพก
32.24
30.87
32.08
สี
สีขาว
สีขาว
สีด่าง
ลักษณะร่องที่หลัง
ร่องใหญ่
ร่องเล็ก
ร่องใหญ่
ตารางที่ 2 พ่อสุกรพันธุ์ปากช่อง 3 ที่มีความสามารถอยู่ในอันดับสูง
ลักษณะ
RC0O5845
RC0O5618
RC0O5848
อัตราการเจริญเติบโต (กรัม/วัน)
1049
954
952
ประสิทธิภาพการให้อาหาร
2.11
2.31
2.19
ความหนาไขมันสันหลัง (เซนติเมตร)
1.05
0.90
0.90
อายุเมื่อน้ำหนัก 90 กก. (วัน)
142
147
147
พื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน (ตารางเซนติเมตร)
38.73
34.29
41.91
ความยาวลำตัว (เซนติเมตร)
104
102
98
ความยาวรอบอก (เซนติเมตร)
97
97
92
ความสูง (เซนติเมตร)
60
61
59
ความกว้างอก (เซนติเมตร)
34
31
34
ความกว้างเอว (เซนติเมตร)
24
24
24
ความกว้างสะโพก (เซนติเมตร)
32
32
31
การจำแนกสุกรพันธุ์ปากช่อง 3
เมื่อดูรูปร่างภายนอกของสุกรพันธุ์ปากช่อง 3 และสุกรพันธุ์เปียแตรงถึงแม้สุกรพันธุ์ทั้งสองพันธุ์จะมีกล้ามเนื้อมากแต่จะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนโดยพิจารณาจากสี เนื่องจากสุกรพันธุ์ปากช่อง 3 มีสีขาวตลอดลำตัวแต่สุกรพันธุ์เปียแตรงมีสีดำ(ลำตัวสีขาวมีจุดสีดำใหญ่) สำหรับสุกรพันธุ์ปากช่อง 3 และสุกรพันธุ์ลาร์จไวท์เมื่อดูรูปร่างภายนอกถึงแม้สุกรทั้งสองพันธุ์จะมีสีขาวและมีหูตั้งเหมือนกันตาม แต่พอจะบอกความแตกต่างได้เนื่องจากสุกรพันธุ์ปากช่อง 3 จะมีกล้ามเนื้อมากกว่าสุกรพันธุ์ลาร์จไวท์ โดยพิจารณาดูบริเวณส่วนต่าง ๆ ของสุกรที่มีการสะสมเนื้อแดง จะพบว่าสุกรพันธุ์ปากช่อง 3 มีทุ้ยใหญ่กว่า ไหล่หนากว่า และร่องที่บริเวณหลังใหญ่กว่าสุกรพันธุ์ลาร์จไวท์สำหรับสุกรพันธุ์เปียแตรง และสุกรพันธุ์ลาร์จไวท์เมื่อดูรูปร่างภายนอกจะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนโดยพิจารณาจากสี และบริเวณส่วนต่าง ๆ ของสุกรที่มีการสะสมเนื้อแดง
จึงได้นำข้อมูลลักษณะที่จำเพราะของสุกรแต่ละพันธุ์ 5 ลักษณะ คือพื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน (ตารางเซนติเมตร) ความกว้างไหล่(วัดด้วยเวอร์เนียบริเวณขาหน้า) ความกว้างสะโพก (วัดด้วยเวอร์เนียบริเวณขาหลัง) สี (สขาว หรือ สีด่าง : ขาวจุดดำ) ลักษณะร่องที่หลัง (เล็ก หรือ ใหญ่) จากสุกรพันธุ์ลาร์จไวท์จำนวน 138 ตัว เปียแตรงจำนวน 63 ตัว และปากช่อง 3 จำนวน 50 ตัว รวม 251 ตัว มาศึกษาด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์
พบว่าการจำแนกพันธุ์ 2 กลุ่มระหว่างสุกรพันธุ์ลาร์จไวท์และสุกรพันธุ์เปียแตรงแสดงไว้ในรูปที่ 10 การจำแนกพันธุ์ระหว่างสุกรพันธุ์ลาร์จไวท์และสุกรพันธุ์ปากช่อง แสดงไว้ในรูปที่ 11 การจำแนกพันธุ์ระหว่างสุกรพันธุ์ปากช่อง 3 และสุกรพันธุ์เปียแตรงแสดงไว้ในรูปที่ 12 จะเห็นว่ากลุ่มสุกรพันธุ์ปากช่อง 3 และสุกรพันธุ์เปียแตรง มีเส้นแบ่งกลุ่มใกล้ชิดกันแต่ไม่ทับซ้อนกันจากรูปที่ 10-13 จะเห็นว่าสุกรพันธุ์ลาร์จไวท์และสุกรพันธุ์เปียแตรงเป็นกลุ่มที่แยกห่างกันอย่างชัดเจน แต่สุกรพันธุ์ปากช่อง 3 ได้แยกตัวออกจากสุกรพันธุ์ลาร์จไวท์และสุกรพันธุ์เปียแตรงแล้ว สามารถพิจารณาข้อมูลของแต่ละพันธุ์ได้จากตารางที่ 1 จากข้อมูลดังกล่าวเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ข้อหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่าขณะนี้สุกรพันธุ์ปากช่อง3 ที่พัฒนาจากพันธุกรรมของสุกรพันธุ์ลาร์จไวท์และสุกรพันธุ์เปียแตรงไม่ใช่สุกรลูกผสมเนื่องจากเมื่อจัดกลุ่มแล้ว ไม่เกิดการทับซ้อนกันในแต่ละกลุ่มพันธุ์แต่แยกออกมาอย่างชัดเจน
ผลการนำไปใช้ในฟาร์มของเกษตรกร
คุณเพชรรัตน์ อินทรีย์ จากเพชรดีฟาร์มเป็นเกษตรกรรายแรกที่นำสุกรปากช่อง 3 ไปใช้ อยู่บ้านเลขที่ 05 หมู่ 7 ต.บ่อปลาทอง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 30150โทรศัพท์ 0-1470-8169 คุณเพชรรัตน์กล่าวว่าลูกสุกรขุนที่เกิดจากพ่อสุกรปากช่อง 3 จะหย่านมเมื่อ 25 วัน มีน้ำหนักประมาณ 8 กก. และเมื่อมีอายุ 45 วันจะหนักประมาณ 12-15 กิโลกรัม เมื่อเกษตรกรซื้อไปขุนใช้ระยะเวลาประมาณ 3.5 เดือน จะได้น้ำหนัก 100 กิโลกรัมและที่สำคัญมีปริมาณไขมันต่ำแต่มีปริมาณเนื้อแดงมากจนเขียงให้ราคาสูงกว่าสุกรขุนทั่วไป 1-2 บาทต่อกิโลกรัม อยากให้เกษตรกรรายย่อยหันมาให้ความสำคัญนำสายพันธุ์ดีมาใช้กันให้มากขึ้นเพื่อต่อต้านการใช้สารเร่งเนื้อแดง
คุณสมชาย ศัลย์วิเศษ อยู่บ้านเลขที่ 1 หมู่ 4 ต.สุขเกษม อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 30150 โทรศัพท์ 0-1470-7712 และ 0-1685-6779 เป็นอีกผู้หนึ่งที่ใช้สุกรปากช่อง 3 คุณสมชายได้นำเชื้อจากศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์นครราชสีมา ไปผสมพันธุ์กับแม่สุกรที่ฟาร์มโดยวิธีผสมเทียมให้จำนวนลูกแรกเกิดมีชีวิต 116 ตัว และหย่านมเมื่อ 3 อาทิตย์มีจำนวน 103 ตัวซึ่งนับว่าดีมากคุณสมชายกล่าวว่าข้อมูลที่ได้จากลูกค้าหรือเกษตรกรที่สนใจเลี้ยงสุกรพันธุ์มักจะถามเสมอว่าได้พันธุ์มาจากไหนแม้กระทั่งเขียงหมูก็มักจะแนะนะให้เกษตรกรที่ขุนสุกรจำหน่าย ให้ไปเอาพันธุ์มาจากเพชรดีฟาร์มหรือที่ฟาร์มของผมจนทำให้ลูกสุกรที่ผลิตได้ทุกวันนี้ไม่พอ ต้องมีการจองล่วงหน้า เพราะมีเขียงที่อยู่ใกล้พื้นที่จะใช้สุกรจากเพชรดีฟาร์มและของมทั้งสิ้น
คุณฉาย วุ่นมะเริง อยู่บ้านเลขที่ 17 หมู่ 3 ต.ตูม อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา นำสุกรที่เกิดจากพ่อปากช่อง 3 รับมาจากนายสมชายไปเลี้ยงขุน จำนวน 8 ตัว มีน้ำหนักเฉลี่ย 15 กิโลกรัมเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2545 และสามารถส่งตลาดได้มีน้ำหนักเฉลี่ย 106 กิโลกรัม เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2545 กินอาหารหมูเล็ก 8 ถุง ๆ ละ
440 บาท อาหารหมูรุ่น 30 ถุง ๆ ละ 290 บาท อาหารหมูใหญ่ 20 ถุง ๆ ละ 240 บาท รวมเป็นอาหาร 1,740 กิโลกรัม รวมเป็นเงิน 17,020 บาท สุกรชุดนี้มีการเจริญเติบโตประมาณ 800 กรัม /วัน ประสิทธิภาพการใช้อาหาร 2.39 นับว่าเป็นที่พอใจมากสำหรับนายฉาย วุ่นมะเริง
คุณเชาว์ ทรงศิลป์ พ่อค้าเขียงหมูในพื้นที่ บ้านเลขที่ 90 หมู่ 4 ต.ตูม อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา โทรศัพท์ 0-1789-7493 กล่าวยืนยันว่าคุณภาพเนื้อสุกรขุนสามสายที่เกิดจากพ่อสุกรปากช่อง 3 ดีกว่าสายพันธุ์อื่นอย่างแน่นอน ปริมาณเนื้อแดงเพิ่มขึ้นในขณะที่ไขมันต่ำ มันบาง พบว่ามีเนื้อแดงเพิ่มขึ้นมากบริเวณเนื้อสัน เนื้อสะโพก และเนื้อขาหน้าตามลำดับ โดยมีเนื้อแดงที่ขายเป็นเนื้อแดงได้ประมาณ 41-43 กิโลกรัมเมื่อคิดเทียบกับหมูมีชีวิต 100 กิโลกรัม จากประสบการณ์ที่ผ่านมาจะได้กำไรประมาณ 400-500 บาทต่อตัว แต่เมื่อหันมาชำแหละสุกรที่ได้จากพ่อสุกรปากช่อง 3 ได้กำไรไม่ต่ำกว่า 1,000-1,200 บาทต่อตัว ตนจึงให้ราคาสุกรขุนแก่เกษตรกรเพิ่มขึ้นอีก 1-2 บาทต่อกิโลกรัม ตามสภาวะตลาด นอกจากนี้สุกรของตนสามารถจำหน่ายได้ราคาสูงกว่าเนื้อทั่วไปประมาณ 5 บาท เพราะได้ไปทำความเข้าใจกับตลาดแล้วผู้บริโภคเชื่อมั่นว่าเนื้อปลอดสารจริง

ไม่มีความคิดเห็น: