Powered By Blogger

วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ชาวบ้านจะเลี้ยงหมูแบบอุตสาหกรรมอย่างไรดี?

หมูพันธุ์ดั้งเดิม ที่มีการเลี้ยงแบบชาวบ้าน จะหมดไป
ได้ปรับมาเลี้ยงหมูสายพันธุ์ในระบบอุตสาหกรรม

กระบวนการเรียนรู้ เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ด้วยมีระบบสื่อสาร คือ อินเตอร์เน็ต

ทั้งๆที่ต้อง เผชิญกับ ต้นทุน ด้านพันธุกรรม ด้านอาหาร ด้านระบบการจัดการ ยา เวชภัณท์ ป้องกันโรค และการตลาดอาจจะกล่าวได้ แบกรับความเสี่ยงไว้ มากกว่า 30%

คือ เลี้ยงหมู ด้วยเงิน 100 บาท ติดลบ ไว้ก่อนมากกว่า 30 บาท

แล้วใน 70 บาท นี้ จะเลี้ยงอย่างไร จึงจะมีส่วนเหลือ

ขอส่วนเหลือ เพียง 10 บาท น่าจะ พออยู่ได้

ข้อคิด ข้อเขียนนี้ มาจาก ประสบการณ์ ตรง ของผู้เขียนเอง

"ชาวบ้านเลี้ยงหมูแบบอุตสาหกรรม"

ตอนที่ (๑)
ความง่าย

ชะตากรรมที่ไม่อาจเลี่ยงได้ ของคนเลี้ยงหมู ที่ต้องแบกรับความเสี่ยง มากมาย
คงคิดว่า มันคงจะง่ายนะ หมูๆ นี่ กะอีแค่ ทำเล้าใส่ หาหมูมาใส่ ซื้ออาหารมาเท รอ อีก 4 เดือน ก็ได้ขายแล้ว

ปรากฏว่า มากกว่า ร้อยละ 90 ตอบว่า ขาดทุน

อ้าว แล้ว อีก ไม่ถึงร้อยละ 10 ทำไมจึงเลี้ยงได้
เขาเลี้ยงได้อย่างไร เขาเลี้ยงแบบไหน เขาเลี้ยงด้วยวิธีการอย่างไร

ตอนที่ (๒)
ทันสมัย


หมูดำหมูกี้หมูกะโดน เหมย ซาน ป่า ทิ้งหมด หันมาจับหมูสีขาว หมูแดง สีด่าง มาเลี้ยง ชื่อที่มันเป็น ภาษา ฝรั่ง มันช่างเท่ห์ดี นะ มันทันสมัย ลุงๆ ป้าๆ บอกมา

เอามาลงเลี้ยง ครั้งแรก

ตื่นเต้น จัง

7 วัน ให้หลัง ขี้แตก ไอ จาม ตัวแดง ๆ ผื่น เต็มตัว ตาย ไปทีละตัวสองตัว
กินอาหารแบบชาวบ้านๆ มันก็ไม่โต เลี้ยงเกือบปี จึงได้ขาย

ตอนที่ (๓)
หมูออมสิน

มีเงินบ้าง ยืมพี่ยืมน้อง กู้แบงค์ ธกส. กู้สหกรณ์ อื่นๆ มาเลี้ยงหมูดีกว่า อย่างน้อยก็จะได้ออมไว้ เลี้ยงไปเลี้ยงมา ทำไมจึง ถลำลึก จนไม่ใช่จะเป็นการออม แต่ต้อง วิ่ง ตะลอนทัวร์ หายิมเงิน ไม่รู้จักจบจักสิ้น หนี้สินพะรุง พรุงพะรัง ตุงนังไปหมด

หน้านิ่วคิ้วขมวด นอนเอาบาทาลูบพักตร์ บ้างก็นั่งร้องไห้ นอนร้องไห้ ก้มหน้าร้องให้ เงียบๆ หากร้องดัง ก็อายเขา

อยากจะเลิก ก็เลิกไม่ได้ ลงทุนมามากแล้ว


ตอนที่ (๔)
ปากกล้า แต่ขาทำไมจึงสั่นวะ

เสียงเพื่อน ๆ ทัก ถามไถ่ เฮ้ย ตอนนี้หมูมีราคาดีรับทรัพย์ แน่เลย ยิ้มแป้นเลย
ยืดอก ยกไหล่ขึ้น

รับนิดหน่อย เอง แค่ สิบยี่สิบล้าน  กำลังมองหา เบนซ์ คันละ สี่ซ้าห้าล้านมาขับเล่น ซากกะหน่อย

เพื่อน ๆ ต่างยกนิ้ว ยกมือยกเท้า เยี่ยมๆๆๆ มาก แบบนี้ต้องฉลองกันหน่อย

ตอบอย่าง รวดเร็ว "จัดไป"

เมาแป๋กลับมา ตื่นเช้า มา มึนตึ๊บ งง ๆ

ค่าใช้จ่าย ที่ต้องชำระ  ทำไมถึง มันมากอย่างนี้ ขายหมูมาได้ มันก็ยังไม่พอ จ่าย

เงิน มันไปไหน หว่า?

ตอนที่ (๕)
เลี้ยงหมูเสมือนหนึ่งว่า เล่นกระดานโต้คลื่น

ราคาซื้อขายหมู ขึ้นลง ดั่งกระแสน้ำ เกลียวคลื่น การจะทำให้ เลี้ยงหมู ไม่ต้องเสียวไส้ ต้องทำให้ต้นทุนต่ำสุดๆ

แล้วจะทำอย่างไร จึงขะลดต้นทุนได้

คนเลี้ยงต้อง รู้และเข้าใจ เรื่องการเลี้ยงหมู อย่างถ่องแท้
ต้องมีหมูสายพันธุ์ดี เหมาะสมกับคนเลี้ยง
ต้องมีการจัดการ การป้องกัน มีสิ่งแวดล้อมดี
ต้องมีอาหารดี
ต้อง มีตลาด แน่นอน
ต้องลงมือทำเอง ให้ได้ หรือสั่งงานคนเลี้ยงได้ดี

อีกหลายๆต้อง เพราะการเลี้ยงหมู ไม่ได้ ง่ายเหมือนชื่อนะครับ

ตอนที่ (๖)
ทำสวน

หมูลงมากๆ ให้เพิ่มการผลิต หมูราคาสูง ให้ลดกำลังการผลิต เรียกว่าทำสวน กระแส หากทำตามกระแส ก็จะแย่ไปตามๆกัน

สัจจธรรม คือ เมื่อหมูล้น ราคาก็ตกแน่นอน ยามหมูขาดก็ย่อมมีราคาสูง

แต่ถ้าทุกคนคิดเหมือนกันหมด เรียกว่า คิดเหมือนกัน ตรงนี้ก็ต้องพิจารณาให้ดีนะครับ

ตอนที่(๗)
ทำเล็กๆแต่มีกำไรมากๆ

จิ๋วๆและแจ๋วๆ แต่หลายคนมักชอบ ทำใหญ่ๆ คือเน้นปริมาณ คือ เลี้ยงหมูผลิตลูกหมู ได้กำไร ตัวละ 800 บาท ก็จะคิดว่า หากเพิ่มจำนวน ก็จะมีรายได้ มากขึ้น ตรงนี้ ไม่จริงเสมอไป

แต่ถ้าเลี้ยงหมูเน้นคุณภาพ คือ จำนวนน้อย แต่ จัดการอย่างละเอียด รอบคอบ เพิ่มศักยภาพการผลิต จนสามารถเพิ่มมูลค่าได้ มากขึ้นๆ

ตอนที่ (๘)
เดินทางสู่แบบอุตสาหกรรม

ทำแบบเล็กๆ ย่อส่วนแบบอุตสาหกรรม ที่มีการเสริมประสิทธิภาพ ในการจัดการ ควบคุมข้อด้อย ต่างๆ จนสามารถพัฒนา มาเป็นจุดแข็ง ได้

เช่น ผลิตพันธุ์เองได้ หมุนเวียนการใช้ได้ อย่างไม่รู้จบ ผลิตอาหารเองได้ ควบคุมโรคยากๆได้ จัดการสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับหมู เค้นประสิทธิภาพ ได้สูงสุด ทำแก๊ส ทำปุ๋ย ทำน้ำเชื้อ ขยายเครือข่าย การกระจายพันธุ์ ฯลฯ

นำระบบอุตสาหกรรมมาปรับใช้ให้เหมาะสม กับชาวบ้าน และทำการตลาด ระดับพืื้นที่

ตอนที่ (๙)

ต่อเนื่อง มั่นคง ยั่งยืน ยืนยง

บทเรียน นี้ ยังอยู่ในขั้นตอน การปรับให้เหมาะสม รอติดตามตอนต่อไปนะครับ






ไม่มีความคิดเห็น: